ปริมาณพลังงานที่สุนัขควรได้รับ
ปริมาณพลังงานที่สุนัขควรได้รับ
การคำนวณปริมาณอาหารที่ควรได้รับของน้องหมาแต่ละตัวถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากปัจจัยต่างๆของสุนัขแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน อาทิ รูปแบบการใช้ชีวิต ระดับกิจกรรม อายุ เป็นต้น ความแตกต่างของปัจจัยเหล่านี้ที่ให้ระบบเผาผลาญพลังงานของพวกเค้ามีความหลากหลายไม่เหมือนกันซึ่งสามารถรบกวนการคำนวณค่าพลังงานให้มีความต่างกันถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ค่าปริมาณพลังงานที่ได้จากการคำนวณจึงเป็นค่าประมาณ เวลาให้อาหารจึงต้องดูหลายองค์ประกอบควบคู่ไปด้วย ทั้ง ปริมาณพลังงาน น้ำหนักของสุนัข ความสมบูรณ์ของร่างกาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของสัตวแพทย์ ถ้าสุนัขมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือต้องการอาหารที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คุณค่าทางโภชนาการเป็นสิ่งที่ต้องนำมาร่วมประกอบการคำนวณปริมาณพลังงานด้วย สูตรอาหารที่คำนวณออกมาได้จึงเหมาะกับสุนัขตัวนั้นๆโดยเฉพาะ ไม่สามารถที่จำนำมาใช้กับสุนัขทุกตัวได้
ขั้นตอนพื้นฐานที่สัตวแพทย์ใช้ในการคำนวณพลังงานที่สุนัขต้องการ หรือความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีวิต มีดังนี้
- เอาน้ำหนักของสุนัข หน่อยปอนด์ หารด้วย 2 เพื่อเปลี่ยนเป็นหน่วยกิโลกรัม
- ใช้สูตรคำนวณหาค่าความต้องการพลังงานในขณะพัก หรือ Resting Energy Requirement (RER) = 70 (น้ำหนักตัวหน่วยกิโลกรัม)^0.75
- เมื่อได้ค่า RER แล้วให้เอามาเข้าสูตรคำนวณหาค่าความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีวิต หรือ Maintenance Energy Requirement (MER) = ค่าตัวแปร x RER
ซึ่งค่าตัวแปรที่ใช้คูณส่วนใหญ่จะมีดังนี้
‧ สัตว์ที่ทำหมันแล้ว 1.6
‧ สัตว์ที่ยังไม่ได้ทำหมัน 1.8
‧ ต้องการให้ลดน้ำหนัก 1
‧ ต้องการให้เพิ่มน้ำหนัก 1.7
‧ ไม่ค่อยชอบทำกิจกรรม หรือกิจกรรมน้อย 2
‧ ทำกิจกรรมในระดับปานกลาง 3
‧ ทำกิจกรรมมาก 6
‧ อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่า 4 เดือน 3
‧ อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 4 เดือน 2
ตัวอย่างการคำนวณ ในสุนัขที่ทำหมันแล้ว น้ำหนัก 45 ปอนด์ (สมมติว่าเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมของสุนัขตัวนี้แล้ว)
- 45 ปอนด์ / 2 = 20.5 กิโลกรัม
- 70 x 20.5^0.75 = 674 กิโลแคลลอรี่/วัน
- 1.6 x 672 = 1075 กิโลแคลลอรี่/วัน
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าตัวเลขที่ได้เป็นเพียงค่าประมาณ สุนัขตัวนี้อาจต้องการปริมาณพลังงานในช่วง 860 กิโลแคลลอรี่/วัน ถึง 1290 กิโลแคลลอรี่/วัน (บวกลบ 20 %)ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยจากตัวสุนัขด้วยค่ะ